เรื่องน่ารู้ของ ตัวควบคุมอุณหภูมิ
เรื่องหน้ารู้ของ ตัวควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller)
Temperature Controller ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่สามารถตั้งอุณหภูมิที่ต้องการได้ โดยในการเลือกใช้ โดยมีหลักให้พิจารณาดังนี้
► ขนาด หรือ Size ของ Temperature Controller
Size :98X98 มม.
Size :48×48 มม.
Size :48×96 มม.
นอกจากนี้ยังมีให้เลือกใช้หลากหลายขนาดให้เหมาะกับช่องติดตั้ง
► ชนิดของ INPUT
● เทอร์โมคัปเปิ้ล: มีให้เลือกใช้ Type J, K, N, T, R เป็นต้น
● RTD : PT100 ,JPT100
● เทอร์มิสเตอร์ : แบ่งตามย่านการวัด
● แรงดัน DC : 1-5 V 0-5V
● กระแส DC : 4-20 mA, 0-20 mA
● อินฟราเรด : ES1B
►ชนิดของ OUTPUT
● Relay : SPDT, SPST
● แรงดันพัลส์ : NPN, PNP (0/12 VDC, 0/24 VDC)
► ค่า Set Point Variable (SV)
● ค่าของอุณหภูมิที่ผู้ใช้ต้องการควบคุมให้คงที่
► ค่า Process Variable (PV)
● เป็นค่าอุณหภูมิจริงของเครื่อง
► Heater Burnout Alarm
● ฟังก์ชัน พิเศษ ที่ตรวจสอบการทำงานของ ฮีตเตอร์ โดยจะอ่านค่ากระแสที่ไหลผ่าน ฮีตเตอร์ หาก ฮีตเตอร์ไหม้หรือขาด ฟังก์ชั้นนี้จะกำเนิดสัญญาณเอาท์พุทเตือนออกมา
► การควบคุม
● การควบคุมแบบON/OFF
ใช้การ On/Off เมื่ออุณหภูมิต่ำและสูงกว่า Set Point ค่า Error ของอุณหภูมิของค่า PV จากค่า Set Point เพียงเล็กน้อย
● การควบคุมแบบ PID
การควบคุม แบบ PID ทำให้ค่า PV เกิด ค่า Error จากSet Point น้อยมาก
● การควบคุมแบบ PD
การควบคุมแบบ PD มีลักษณะคล้าย PID แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า
● การควบคุมแบบ 2-PID
ควบคุมคล้าย PID เพิ่มความาสามารถคาดเดาค่าอุณหภูมิจริงที่เกิดขึ้นได้ ค่า PV ทำให้สามารถควบคุม ค่า PV ได้แม่นยำขึ้น
● การควบคุมแบบ FUZZY
ค่า PV มีค่าใกล้เคียงค่า Set Point หากมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ค่า PV เปลี่ยนแปลงจากค่า Set Point ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยปรับค่า PV ใกล้เคียงกับค่า Set Point
► AUTO-TUNING
ฟังก์ชั่น คำนวณค่า พารามิเตอร์ของ PID โดยรู้จากอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อมภายนอกร่วมทั่งองค์ประกอบที่กระทบกับระบบแล้ว คำนวณ ค่า PID เหมาะสม เพื่ออุณหภูมิเข้าสู่จุด Set Point อย่างรวดเร็ว
► Communication Interface
ผู้ใช้ตั้ง พารามิเตอร์ในค่าต่าง ๆ ตั้งโปรแกรม รวมถึง monitor จากระยะไกล RS-232C, RS422 หรือ RS-485
► Alram Output
Out Put เสียงเตือนแจ้งสถานะควบคุมระบบ จะทำงานเมื่ออุณหภูมิถูกควบคุม ค่า PV ของระบบสูงกว่า ต่ำกว่า หรืออยู่ในช่วงที่กำหนด
► Remote Set Point
เป็น การตั้งค่า Set Point ของ Temperature controller ผ่าน สัญญาณ4-20 mA
► Event Input
เป็นการเปลี่ยนค่า Set Point จาก ค่าหนึ่งไปยังอีกค่าที่ตั้งไว้ โดยสลับสวิทซ์ขั้ว Input ของ Temperature controller
► Valve Positioning
เป็นการควบคุมการเปิด-ปิด วาล์ว โดยใช้การควบคุม PID
► Auxiliary Output
เป็น Output เพิ่มจากควบคุม ให้เป็น Output ตัวอื่นเช่น Alarm Loop break alarm เป็นต้น
► Transfer Output
เป็นเอาท์พุต 4-20 mA สามารถเลือกได้ว่าสัญญาณนี้ถูกแปลงค่าจากค่า Set Point (SP) Process value (PV) หรือค่า ควบคุม
อ้างอิง
ตัวควบคุมอุณหภูมิ (temperature Controller), หน้า 9-3 -9-4,Omron Pricelist 2012-2013
http://www.omron.com.au/product_info/CPM2A/index.asp
http://program-plc.blogspot.com/2009/11/wiring-heater-to-plc.html