หลักการในการเลือกใช้ Sensor
เราขอแนะนำหลักการในการเลือกใช้ Sensor ดังนี้
Sensor นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในควบคุมลำดับต้น ๆ เช่น ใช้ในการตรวจจับวัตถุ ในงานควบคุมคุณภาพของสินค้า การตรวจ เช็คระดับของเหลว เป็นต้น
ฉะนั้นในการเลือกใช้ Sensor ให้เหมาะกับงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ สูงสุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้ทาง บริษัท ในเครือ ฟอน ขอเสนอหลักการในการเลือกใช้ Sensor ดังนี้
1) ขนาดของวัตถุ
เซนเซอร์ที่เลือกใช้ในการตรวจจับวัตถุ ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำแสง ขนาดพอเหมาะกับวัตถุ
หากวัตถุมีขนาดเล็ก กว่าลำแสงอาจใช้ แผ่นจำกัดแสง เพื่อทำให้สามารถตรวจจับวัตถุได้ดีขึ้น
2 ชนิดของวัตถุตรวจจับ
ในการตรวจจับวัตถุ ในงาน Sensor สามารถที่แบ่งชนิดของวัตถุได้ดังนี้
2.1 วัตถุโปร่งแสง เช่น ขวดแก้วใส ในการนำ Sensor มาประยุกต์ใช้ จะไม่นำ Sensor ที่ใช้แบบตัวรับ-ส่งมาใช้
Sensor ที่ใช้ในการวัด วัตถุโปร่งใส
2.2 วัตถุแบบมันวาว: นิยม ใช้ Sensor ที่มีลำแสง แบบ Polarized light Beam
Sensor ที่ใช้ในการวัด วัตถุแบบมันวาว
3 สีและผิวของวัตถุตรวจจับ
แบบตัวรับ-ตัวส่งแยกกัน จะไม่ได้รับผลกระทบจากสีและผิวของวัตถุตรวจจับ แบบจำกัดระยะการสะท้อน ใช้การตรวจจับจากระยะ ไม่ใช่จากความเข้มแสงที่ได้รับ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสีและผิวของวัตถุตรวจจับ
4 ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุตรวจจับ
5 การตรวจสอบว่า Perponse Time ของเซนเซอร์ไวกว่าความเร็วของวัตถุ
6 สภาพแวดล้อมในบริเวณที่จะใช้งาน
oในงานตรวจจับที่มี ละอองน้ำ หรือ ความชื้น เซนเซอร์ที่ใช้ ควรป้องกันน้ำและความชื้น ควรเลือกใช้เซนเซอร์ ที่สามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ โดยดูจากมาตรฐานการป้องกัน IP66 หรือ IP67
oถ้าใช้เซนเซอร์แบบไฟเบอร์ออฟติกควรระมัดระวังไม่ให้น้ำมันหรือของเหลวมา เกาะที่หัวไฟเบอร์ออฟติกซึ่งอาจทำให้ระดับความเข้มของแสงลดลงได้
7 ระยะทางการตรวจจับ
ไกลที่สุด: แบบตัวรับ-ตัวส่งแยกกัน (Through-beam)
ปานกลาง: แบบมีแผ่นสะท้อน (Retro reflective)
ใกล้ที่สุด: แบบตรวจจับวัตถุโดยตรง (Diffuse-reflective)
8 การติดตั้งบนชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
ใช้สายไฟเบอร์แบบ Bundle หรือ Multi-Core ที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่าไฟเบอร์แบบธรรมดา (Single Core)
9 แรงดันอินพุทที่ใช้ คือ ค่าของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Sensor
10 ค่าเอาท์พุท เอาท์พุตของอุปกรณ์เซนเซอร์ คือ จะมีแบบปกติเปิดและปกติปิดในเซนเซอร์เพียงตัวเดียว
เอาท์พุต แบบ NPN: เอาท์พุตประกอบไปด้วย ขาคอเลคเตอร์เปิดและขาอิมิตเตอร์ที่ต่อกับกราวด์และโหลดจะต่อระหว่างขาคอ ลเลคเตอร์และแหล่งจ่ายไฟขาบวก
เอาท์พุตแบบ PNP: เอาท์พุตประกอบไปด้วย ขาคอเลคเตอร์เปิดและขาอิมิตเตอร์ที่ต่อแหล่งจ่ายไฟขาบวกและโหลดจะต่อระหว่าง ขาคอเลคเตอร์และกราวด์
อ้างอิง
http://www.kmitl.ac.th
http://www.keyence.co.th/products/sensors/photoelectric
http://www.compomax.co.th/products/sensors/