อุปกรณ์ท่อในงานเดินไฟฟ้า (กลุ่มท่อโลหะ)
การใช้ท่อในงานไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตราย และความเสียหาย กับสายไฟฟ้าที่ใช้งาน และให้เหมาะสมกับการเดินสายในแต่ละพื้นที่ของงาน อุปกรณ์ท่อที่นิยมแบ่ง ได้ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ วัสดุ ผลิตท่อที่เป็น ท่อโลหะ และ วัสดุท่อที่เป็นอโลหะ ซึ่งดังจะทำการยกตัวอย่างดังนี้
1) ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing) หรือ ท่อร้อยสาย EMT
ผลิตจากแผ่นเหล็กกล้า ชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว
ข้อสังเกต ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้าน ปลายแต่ละด้านไม่เป็นเกลียวมาตรฐานกำหนดให้ใช้ ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิด โดยทั่วไปจะ เรียกกันว่าท่อ EMT มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 2″ นิ้ว หรือถ้าใช้ บ้างช้างผู้ใช้งานจะเรียกหน่วยหุน ความยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป
ลักษณะงานในการเดินท่อ
ท่อ EMT ใช้ เดินลอยในอากาศ โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์งานท่ออื่น ๆ เช่นราง ซี , Clamp ประกับท่อ สามารถทำการฝังในผนังคอนกรีต เพื่อความสวยงามในงานก่อสร้าง การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา ดังรูป
ข้อห้าม
เนื่องจากผลิตจากเหล็กห้ามฝังดิน หรือ ฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่ อันตราย เช่น สถานที่ระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือ บริเวณที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับท่อ EMT
2. ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit) หรือท่อร้อยสาย IMC
ท่อ IMC ผลิตด้วยวิธี Hot Dip Galvanizing คือการชุบท่อด้วยสังกะสีด้วยความร้อนอย่างต่อเนื่อง ช่วยป้องกันสนิมในผิวภายนอกของท่อได้ดี ขั้นตอนสุดท้าย ชุบด้วยสารป้องกันการกัดกร่อน (Anti Corrosion Coating) เพิ่มความทนทานมากยิ่งขึ้น ผนังภายในท่อเคลือบด้วย อีพอกซี (Epoxy Resin) ด้วยความร้อนทำให้ท่อปลอดสนิม และช่วยการร้อยสายไฟฟ้าราบรื่น
ข้อสังเกต ปลายท่อ อีกด้านหนึ่ง เป็นเกลียว ใช้ มี คุปปิ้ง สวมอยู่
ลักษณะงานในการเดินท่อ ท่อ IMC เหมาะกับการเดินนอกอาคาร หรือ ฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อในท้องตลาดคือ 1/2″ – 4″ นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไกด้านหนึ่งปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา ดังรูป
3. ท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit)
ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้า ทำการเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ
ข้อสังเกต ของท่อ โลหะหนา คือ แต่ผิวจะด้านกว่าและหนากว่าท่อ EMT และ IMC ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำ ระบุชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ RSC มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 6″ และยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป
ลักษณะงานในการเดินท่อ ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ – 6″ นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิก ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปคล้ายกับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit)
ท่อโลหะอ่อนผลิตจากแผ่นเหล็กกล้า แล้ว เคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอก และภายใน ลักษณะเด่น เนื่องจากเป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ จึงเหมาะสำหรับต่อเข้า มอเตอร์หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน หรือ กับดวงโคม ท่อโลหะ มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ โดยทั่วไปตามท้องตลอดจะเรียกกันว่า “Flex เหล็ก” มีลักษณะของท่อแสดงดังรูป
5.ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ
ผลิตมาจากแผ่นเหล็กกล้าเหมือนกันท่อโลหะอ่อน แต่ทำการหุ้มเปลือก PVC ด้านนอกเพื่อกันความชื้น ลักษณะเด่น ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนของสายไฟ เพื่อป้องกันสายไฟ ชำรุด จากไอของเหลว หรือจากความชื้น โดยความนิยมในการใช้งาน จะเป็นท่ออ่อนกันน้ำสี ดำ และสีเท่า โดย มีอุปกรณ์บ้างตัวที่ใช้แตกต่างกัน
ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิสูง เพราะอาจทำให้ท่อเสียหายมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ การตัดท่อชนิดนี้ใช้เลื่อยตัดเหล็ก ทั่วไปตัดตรงๆ โครงสร้างภายในและข้อมูลของท่อโลหะอนกันน้ำแสดงดังรูปข้างล่าง
ตารางแสดงข้อมูลขอท่ออ่อนกันโดยทั่วไป
ภาพลักษณะของท่ออ่อนกันน้ำ
ในบทความครั้งหน้าทางกลุ่มบริษัท ฟอนจะนำเสนอท่อร้อยสายไฟในกลุ่มอโลหะโปรดติดตามในครั้งต่อไป
ที่มา:tumcivil.com