เรื่องหน้ารู้วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต

ในการทำงานที่มีฟ้ามาเกี่ยวของ ความปลอดภัยนำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทั้งผู้ติดตั้ง และผู้ใช้งาน  หาก เกิดอุบัติเหตุ เช่น อัคคีภัย ในอาคารสูง  วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ย่อมมีส่วนสำคัญในการลดความสูญเสีย  บทความนี้เรามาทำความรู้จัก เกี่ยวกับวงจร ไฟฟ้าเบื้องต้นกันครับ

วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต เป็นวงจรไฟฟ้าที่ต้องออกแบบเป็นพิเศษ ให้ทนต่อความร้อน และ สามารถ ใช้งานได้ชั่วเวลาหนึ่ง โดยในการออกแบบต้องให้วิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาต เป็นผู้ออกแบบ และมีการตรวจสอบวงจรทุกปี

สถานที่จำเป็นต้องมีวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต

อาคารชุด  เช่น คอนโดมิเนียม  อาคารสูง  และ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ เป็นอาคาร หรือสถานที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาก และ หนีภัยได้ยาก เมื่อเกิดอัคคีภัยหรือ ภาวะฉุกเฉิน อื่น ๆ

ระบบไฟฟ้าช่วยชีวิต

ระบบไฟฟ้าที่สำคัญหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

1)   ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน

2)   ระบบสัญญาณเตือนภัยอัคคีภัย

3)   ระบบแสงสว่างฉุกเฉิน

4)   ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ

5)   ระบบดูดและระบายอากาศ

6)   ระบบสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

7)   ระบบสื่อสารฉุกเฉินสำหรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้

8)   ระบบลิฟท์ผจญเพลิง

การจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินสำหรับวงจรช่วยชีวิต

1)   มีแหล่งจ่ายไฟฉุกเฉิน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

–          แบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตได้อย่างเหมาะสม และ เป็นเวลานาน

–          ต้องไม่ถูกกระทบ จากการปลอดหรืองดจ่ายกระแสไฟฟ้า

2)   จุดต่อไฟฟ้าฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายปกติร่วม

–          ต้องต่อจากจุดด้านไฟเข้าของ (main Switch)

3)   ไฟฟ้าที่จ่ายให้ระบบวงจรช่วยชีวิต ต้องไม่ถูกควบคุมโดยระบบไฟฟ้าวงจรปกติ Transfer switch ปกติเป็นฉุกเฉินไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ควบคุม

เมนสวิตช์และสวิตช์ต่าง ๆ

1)           เมนสวิตช์สำหรับการจ่ายไฟฟ้าวงจรช่วยชีวิตต้องแยก

ต่างหาก และไม่ถูกบังคับจากเมนสวิทช์ไฟฟ้าปกติ ถ้ามี เมนสวิตช์แยกแต่ระบบทั้งหมดต้องติดตั้งรวมอยู่ที่แผงสวิทช์เมนรวม หรือภายในห้องแผงสวิตช์เมนรวม

2)        สำหรับ Lift ที่ใช้เป็นปกติและฉุกเฉินผจญเพลิงจะต้องติดตั้งเมนสวิตช์ สำหรับภาวะฉุกเฉินแยกต่างจากภาวะปกติ

3)        ห้ามติดตั้งสวิตช์หรืออุปกรณ์ปลดสับใด ๆ ระหว่างเมนสวิตช์ และ แผงควบคุมระบบเครื่องช่วยชีวิต

4)        อนุญาตให้ต่อวงจรไฟฟ้าย่อยสำหรับแสงสว่างและเต้ารับเพื่อการตรวจสอบเพื่อการตรวจสอบและบำรุงรักษาแยกจากวงจรที่จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องสูบน้ำช่วยชีวิตได้

5)        การแยกส่วนป้องกันวงจรไฟฟ้าการป้องกันวงจรปกติเมื่อปลดจะต้องไม่กระทบกระเทือนกับการจ่ายกระแสไฟของวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต

6)        การป้องกันทางกายภาพ

7)        การติดป้ายหรือเครื่องหมายมีการติดป้ายหรือเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนและเข้าใจง่าย

 

อ้างอิง

หน้า169-174  บทที่12 มาตรฐานการติดตั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลง, หนังสือคู่มือสัมมนาเรื่องการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับใหม่และสายไฟฟ้า มอก.ใหม่