วิธีตรวจเช็คระบบไฟหลังน้ำท่วม
การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าหลังน้ำลด
(จากบทความ คอลัม สาระน่ารู้: Schneider Electric Newsletter <Retailer & Electrician Edition> Volume 7/2554, p6-7)
หลัง ผ่านพ้นช่วงน้ำท่วมไปแล้ว จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนทำการจ่ายไฟเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ งาน โดยท่านสามารถแบ่งการตรวจเช็คออกเป็น
แผงสวิตช์ไฟฟ้า (แผงคัทเอาท์ แผงสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ) เป็นแผงควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านที่ต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ แบ่งออกเป็น
คัทเอาท์
ปัจจุบันใช้น้อยลงมาก ประกอบด้วยฐานคัทเอาท์ ทำด้วยกระเบื้องมีสะพานไฟเป็นทองแดงพร้อมคันโยกการะเบื้อง สำหรับยกขึ้นเพื่อตัดและต่อไฟจากการไฟฟ้าฯ หลังสะพานไฟที่มีคันโยกมีฟิวส์ตะกั่วต่ออยู่เพื่อป้องกันการะแสเกินบางบ้าน อาจมีฟิวส์ลูกถ้วยต่ออยู่ด้วย ภายหลังน้ำลดให้สำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด หากพบว่าอุปกรณ์อยู่ในสภาพแห้งพร้อมใช้งานไม่มีส่วนไดแช่น้ำอยู่ ให้กดลองยกสะพานไฟของคัทเอาท์ขึ้น ถ้าฟิวส์ไม่ขาดแสดงว่าระบบไฟฟ้าใช้ได้อยู่ ถ้าฟิวส์ขาดต้องตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป
แผงสวิตช์อัตโนมัติ
สังเกตได้ว่าจะเป็นตู้เหล็กหรือตู้พลาสติกที่ต่อรับไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ เช่นเดียวกับ คัทเอาท์ปัจจุบัน มีใช้มากขึ้นกับบ้านรุ่นใหม่ ๆ และจะแบ่งวงจรไฟฟ้าง่ายๆ เป็นชั้นบนกับชั้นล้างและยังแบ่งออกไปอีกเป็นวงจรปลั๊ก วงจรโคมไฟ วงจรแอร์ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่นซึ่งควบคุมด้วยสวิตช์อัตโนมัติของแต่ละวงจร การตรวจสอบแบ่งเป็น
a. กรณีแผงสวิตช์อัตโนมัติไม่โดนน้ำท่วม ให้ใช้ดึงคันโยกของสวิทช์อัตโนมัติเมนและย่อยแต่ละตัวลงก่อน แล้วทดลองยกคันโยกของสวิทช์ ตัวเมนขึ้น แล้วค่อยยกคันโยกสวิตช์ย่อยขึ้นทีละตัวถ้าตัวไหนตกลงมาแสดงว่าวงจรนั้นมี ปัญหา หรือเมื่อยกตัวสวิตช์ย่อยขึ้นทำให้ตัวเมนตกลงมา วงจรย่อยนั้นมีปัญหาที่จะต้องตรวจสอบต่อไป สำหรับตัวสวิตช์ย่อยที่ยกขึ้นแล้วไม่ตกลงมาสามารถใช้งานได้ตามปกติ
b. กรณีแผงสวิตช์อัตโนมัติโดนน้ำท่วมกรณีนี้แนะนำให้เปลี่ยนเบรกเกอร์ และถอดตู้ออกมาตรวจสอบว่าสามารถให้งานได้หรือไม่ แต่ขอแนะนำให้เรียกช่างไฟฟ้าผู้ชำนาญการมาทำการตรวจสอบโดยมีขั้นตอนดังนี้
i. ตรวจสอบว่าเบรกเกอร์ทุกตัวในแผงสวิตช์อัตโนมัติปิดแล้ว จากนั้นให้ทำสัญลักษณ์ที่สายไฟ เพื่อ ทำตำแหน่ง ว่าสายใดต่อเข้าวงจรไหนเพื่อที่จะได้ต่อสายกลับที่เดิมเวลาประกอบตู้
ii. ถอดสายไฟที่มาจากมิเตอร์ (สังเกตจากสายที่เข้าช่อง L ของเบรกเกอร์เมน และเส้น N ซึ่งอาจเข้าช่อง N ของเบรกเกอร์เมนหรือเข้าที่กราวนด์บาร์) แล้วใช้เทปพันสายไฟพันหัวสายไว้ระวังห้ามสัมผัสโดนส่วนที่เป็นทองแดงของสายไฟจากนั้นถอดสายไฟที่เหลือออกทั้งหมดโดยใช้อุปกรณ์วัดไฟ (เช่น ไขควงวัตไฟ) ตรวจสอบ ก่อนทุกครั้งว่าไม่มีไฟ
iii. หลังจากถอดเบรกเกอร์ออกจากแผงสวิตช์อัตโนมัติทุกตัวแล้ว ให้ถอดแยกชิ้นส่วนแผงสวิตช์อัตโนมัติออกมาทำความสะอาด โดยส่วนที่เป็นพลาสติกและตัวตู้ให้ใช้น้ำล้างทำความสะอาดแต่ส่วนที่เป็นโลหะให้ใช้น้ำยาอเนกประสงค์ (Sonax) ฉีดเพื่อไล่ความชื่น จากนั้นเช็คพึ่งแดดหรือเป่าให้แห้งและสุดท้ายหลังจากประกอบกลับแล้ว ให้ตรวจด้วยเครื่องตรวจสอบฉนวน (Megger) ที่แรงดันไฟตรงขั้นต่ำ 500 โวล์ทและต้องได้ค่าความต้านทานไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกกะโอห์มจึงจะใช้งานได้ แต่ประสิทธิภาพการจ่ายไฟของอุปกรณ์อาจไม่สมบูรณ์ หากค่าต่ำกว่านั้นแนะนำให้เปลี่ยนใหม่
iv. สำหรับเบรกเกอร์ที่โดนน้ำแล้ว ไม่ควรทำให้แห้งด้วยการพึ่งแดดหรือเป่า แนะนำให้เปลี่ยนใหม่โดยใช้เบรก เกอร์ขนาดเท่าเดิม (แอมป์เดิม)
v. ประกอบแผงสวิตช์อัตโนมัติ, เบรกเกอร์และสายไฟกลับเหมือนเดิม แล้วทำการเปิดเมนเบรกเกอร์และลูกย่อยทีละตัว หากยังไม่สามารถใช้งานได้ให้ติดต่อช่างไฟผู้ชำนาญการ
กรณีหากเปลี่ยนแผงสวิตช์อัตโนมัติใหม่แนะนำให้ใช้แผงสวิตช์อัตโนมัติแยกวงจรเป็นชั้นบนชั้นล้าง และแต่ละชั้นแยกเป็นวงจรโคมไฟ และวงจรปลั๊กไฟฟ้า โดยควรติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดแยกเฉพาะวงจรที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมถึง เช่น ปล๊กไฟ,ปั้มน้ำ,วงจรที่เดินใต้ดิน เช่น ไฟสนาม, กริ่งประตู
ปลั๊กและสวิตช์ไฟฟ้า
ที่น้ำท่วมถึง ให้ถอดออกมาทำความสะอาดและทำให้แห้งก่อนต่อกลับที่เดิม ควรมีความรู้ด้านเทคนิคพอสมควรและทดลองใช้งาน ทั้งนี้ก่อนถอดออกมาทำความสะอาดต้องดึงคัทเอ้าท์หรือสวิตช์อัตโนมัติลง ก่อนแล้วใช้ไขความสำหรับเช็คไฟฟ้าหรือเครื่องวัดไฟฟ้า วัดดูก่อนว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาที่สวิตช์หรือปลั๊กเมื่อทดลองใช้งาน ปลั๊กกับสวิตช์แล้วใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนเป็นจุดๆ ไป
คำแนะนำสำหรับปลั๊กไฟฟ้าที่น้ำท่วมถึง ควรยกตำแหน่งให้สูงขึ้น โดยสังเกตจากคราบน้ำท่วม และควรแยกวงจรปลั๊กไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการใช้งานในอนาคต และให้ช่างไฟฟ้าดำเนินการ
การตรวจไฟฟ้ารั่วเบื้องต้น ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด จากนั้นให้สังเกตการณ์หมุนของมิเตอร์ หากมิเตอร์ยังหมุนอยู่แสดงว่ามีไฟรั่วให้ปิดคัทเอาท์ลง จากนั้นไปตามช่างของการไฟฟ้าฯ หรือช่างผู้มีความรู้ ด้านไฟฟ้ามาตรวจสอบอย่าพยายามแก้ไขเอง เนื่องจากอาจถูกไฟดูดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่อง ซักผ้าหรือมอเตอร์ปั้มน้ำ ถ้ายกหนีน้ำท่วมไม่ทันหรือแช่น้ำอยู่ โดยทั่วไปจะเสียหายจะใช้งานไม่ได้ทันที แม้จะแห้งแล้วก็ตาม ควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ดำเนินการตรวจเช็คหรือซ่อมเสียก่อน ถึงจะต่อไฟฟ้าใช้งานต่อไป
ขอขอบคุณแหล่งขอมูลดีๆ บางส่วนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองด้วยความปรารถนาดี จาก บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และชมรมช่างฟ้าจริงใจ
กลุ่มบริษัทฟอน เราจำหน่ายและจัดส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ อาทิเช่น สายไฟฟ้า, ท่อร้อยสายไฟ, อุปกรณ์เดินสายไฟฟ้า, ตู้ควบคุม, สวิทช์ในงานควบคุม, งานส่องสว่าง, มิเตอร์, เครื่องมือวัด, มอเตอร์, หลอดไฟ, ไฟส่งสัญญาณ, คอนเวิร์ทเตอร์, ทรานฟอร์เมอร์, ออดสัญญาณ, เบรคเกอร์, หลอดไฟ, หลอด led, กริ่งสัญญาณ,สัญญาณเตือนภัยโรงงาน,หม้อแปลงไฟฟ้าอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด ในผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสากล และผ่านการรับรองคุณภาพ และ อื่นๆ ตามที่ลูกค้าต้องการด้วยความรวดเร็วถูกต้องได้ทุกวัน ที่ www.fonengineering.com
เราเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ TAMCO, TEND, SIEMENS, OMRON, ABB, MISUBISHI, Telemecanique, FUJI ELECTRIC, IDEC, SQUARE-D, Shinohawa, MOELLER, BTICINO, CLIPSAL, MERLIN GERIN, PHILIPS, OSRAM, SYLVANIA, PANASONIC, PATLITE, TOSHIBA, YAZAKI, FUHRER, PHELPS DODGE, Draka, APEKS, MENNEKES, HPM, HARTING, AMP, LINK, Schyller, KYORITSU, SANWA, OPT, KOYO, GRASSLIN, SUNX, RKC, WIP, SALZER, Autonics, TDK, Bussmann, RITTO, SUNNY, WINDSTORM, MEAN WELL, BREVETTI, BANDEX, IDEC, 3M
———————————————————————————————————-
ที่มา
บทความ คอลัม สาระน่ารู้, Schneider Electric Newsleter <Retailer & Electrician Edition> Volume 7/2554