มิเตอร์วัดไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมการวัดค่าไฟฟ้าแบบใหม่ ปัจจุบัน เนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการ หลั่งไหลของประชาชน เพื่อเข้ามาหาโอกาสทางชีวิตที่ดีกว่า ทั้งในด้านการศึกษา และการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยซึ่ง ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ดังกล่าวทั้ง หอพัก แมนชั่น มีการขยายตัวเพื่อรองรับ กับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อ มีที่อยู่อาศัย ในหัวข้อหนึ่งที่จะต้องอดพูดถึงเสียมิได้ คือ ค่าไฟ ซึ่งก็เป็น รายได้ อีกหนึ่งช่องทางที่ทางผู้ประกอบการหอพัก ให้ความสำคัญ และ หัวใจหลัก ในการเก็บรายได้ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของอาคาร ก็ คือ มิเตอร์วัดไฟฟ้า หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า หม้อไฟ มิเตอร์ วัดไฟฟ้า ที่ใช้อยู่ ปัจจุบัน เป็นระบบใช้แรงดัน ไฟฟ้า สร้างสนามแม่เหล็ก ผลักจานโลหะ ให้หมุน มีแกนเชื่อมกับตัวเลขเพื่อนับหน่วยการใช้ไฟฟ้า แต่ ระบบ นี้ยังป้องกัน การโกงจากผู้ใช้งาน ได้ ไม่เต็มร้อย เปอร์เซ็นต์ เนื่องด้วยการ ก่อกวนสนามแม่เหล็กในตัวมิเตอร์ส่งผล กระทบต่อการหมุน ของจานโลหะ อีกทั้งการกลับทางเข้าออกของแรงดันไฟฟ้าก็ส่งผลต่อการหมุนจานโลหะด้วย เช่นกัน ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อเจ้าของหอ พัก หรือ ผู้ให้เช่า หากในรายที่ต้องจด หน่วยมิเตอร์ เอง
Automatic Transfer Switch (ATS) สวิสท์สลับไฟฟ้าอัตโนมัติ (ใช้กับเครื่องปั่นไฟ ไดนาโม) เป็นสวิสท์ตัดต่อสลับแหล่งจ่ายไฟ จากไฟฟ้า และเครื่องปั่นไฟ เหมาะใช้สลับแหล่งจ่ายไฟ เช่นไฟจากแผงโวล่าร์ – ไฟหลวง เป็นต้น ใช้แทนงาน แมกเนติคคอนแทคเตอร์คุ่ ทั้ง Mechanical interlock (Contactor with mechanical interlock) สำหรับ กลับ ทิศมอเตอร์เดินหน้า – ถอยหลัง หรือใช้แทน Latching relay สลับทำงานของปัมป์น้ำขนาดใหญ่ไม่ต้องเพิ่มแมกเนติกส์ มีทั้งแบบ ON-OFF-ON (ไฟหลวง–หยุด–ไฟปั่น) และON-ON (ไฟหลวง–ไฟปั่น) ป้องกันแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่ง ชนกันโดยระบบ Mechanical interlock ทำให้มั่นใจถึงความปลอดภัย มีการป้องกันแหล่งจ่ายไฟหลักเอง กรณีแหล่งจ่ายไฟมาพร้อมกันระบบจะเลือกไฟจากแหล่งจ่ายที่เรากำหนด สามารถต่อร่วมกับเฟสโปรเทคชั่น หรือ อันเดอร์โวล์เทจ เพื่อตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟก่อนทำงาน ต่อวงจรสะดวกใช้งานง่ายเฉพาะอย่างยิ่ง รุ่น ON-ON เพราะ แผงคอนโทล มีเทอร์มินัลแค่ 4 ตัวโดย 2 ตัวแรกใช้ต่อไฟฟ้า ( L-N ) อีก สองตัวสำหรับต่อไฟปั่น ส่วนแผงเพาว์จะมีอยู่ 9 เทอร์มินัล […]
JZ-500 สายไฟอุตสาหกรรมของ HELUKABEL คง ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมและโรงงานต่างๆ จำเป็นต้องใช้สายไฟเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน ทั้งเพื่อการควบคุมอุปกรณ์ , สายพานลำเลียง และ/หรือสายพานการผลิต เป็นต้น JZ-500 สายไฟอุตสาหกรรมของ HELUKABEL ผู้ผลิตและจำหน่ายสายไฟอุสาหกรรมจากประเทศเยอรมนี เป็นสายไฟหนึ่งที่เข้าสู่ตลาดของสายไฟอุสาหกรรมเช่นกัน ด้วยคุณสมบัติของสายที่มีความยืดหยุ่นสูงรองรับแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 500 V (สายไฟทั่วไปสามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้เพียง 220 – 380 V เท่านั้น) และสามารถทนต่อแรงกดที่กระทำจากเครื่องจักรได้ นอกจากนี้ JZ-500 ยังมีคุณสมบัติพิเศษด้านการทนน้ำมัน เช่น น้ำมันพืช น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา และกรดไขมันอิ่มตัวต่างๆ เป็นต้น ประกอบกับคุณสมบัติด้านการหน่วงไฟ Flame Retardant (เปลวไฟไม่ลาม แต่นำไฟฟ้าไม่ได้) ส่งผลให้ JZ-500 ของHELUKABEL จึงเป็นสายไฟที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก สายไฟทุกเส้นที่ผลิตจากโรงงานของ HELUKABEL จะต้องเข้าสู้ระบบการทดสอบคุณภาพของานไฟภายในห้องทดลอง (Testing Center) ก่อนการนำออกมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทุกครั้ง รวมถึงสายไฟ JZ-500 ที่ต้องผ่านการทดสอบคุณภาพของสายไฟเช่นกัน นอกจากนี้ JZ-500 ยังได้รับการับรองทางด้าน RoHs ( Restriction of Hazardous Substances) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรปว่าด้วยเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันการเกิดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการควบคุมปริมาณสารต้องห้ามที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ JZ-500 ยังได้รับการับรอง VDE (Verb and Deutscher Elektrechnlker ) […]
ความรู้พื้นฐานในงาน Heater การให้ความร้อน (พฤติกรรมของแสง) แสง มีสมบัติทั้งคลื่น และอนุภาค พฤติกรรมของแสง เป็นพลังที่สามารถเคลื่อนที่ ในรูปของเคลื่อน มีช่วงความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 380-760 นาโนเมตร ช่วงความยาวคลื่นของพลังงานดังกล่าวทำให้เกิดการมองเห็นและ Spectrum ต่าง ๆ ช่วงของ Spectrum ที่ทำให้เกิดความร้อนได้ดีคือ ช่วงอินฟราเรด เมื่อรังสี(แสง) ตกกระทบวัตถุมีพฤติกรรมของแสงดังนี้ 1)สะท้อนกลับ 2) ทะลุวัตถุ 3)ถูกดูดกลืน ความยาวคลื่นของแสงกับพฤติกรรม
เราขอแนะนำหลักการในการเลือกใช้ Sensor ดังนี้ Sensor นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในควบคุมลำดับต้น ๆ เช่น ใช้ในการตรวจจับวัตถุ ในงานควบคุมคุณภาพของสินค้า การตรวจ เช็คระดับของเหลว เป็นต้น ฉะนั้นในการเลือกใช้ Sensor ให้เหมาะกับงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ สูงสุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้ทาง บริษัท ในเครือ ฟอน ขอเสนอหลักการในการเลือกใช้ Sensor ดังนี้ 1) ขนาดของวัตถุ เซนเซอร์ที่เลือกใช้ในการตรวจจับวัตถุ ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำแสง ขนาดพอเหมาะกับวัตถุ หากวัตถุมีขนาดเล็ก กว่าลำแสงอาจใช้ แผ่นจำกัดแสง เพื่อทำให้สามารถตรวจจับวัตถุได้ดีขึ้น