การดูแลรักษาโคมไฟฉุกเฉิน

โคมไฟฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอีก ชิ้นหนึ่ง ที่มีความจำเป็นใน โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้าน เรือน หากเกิดขัดข้องในการจ่ายกระแสไฟ หรือไฟดับ  อุปกรณ์ให้แสงสว่างอย่างโคมไฟฉุกเฉิน ย่อมเป็นอุปกรณ์แรกที่ทุกใช้ในด้านความปลอดภัย ในบทความนี้ เราจะมาดูแนวทาง และวิธี การดูแลรักษา โคมไฟฉุกเฉินเบื้องต้น กันว่าทำอย่างไรบ้าง โดยปกติในการการดูแลรักษาชุดโคมไฟฉุกเฉินมักถูกแนบในเอกสาร ที่มาพร้อมกับ โคมไฟฉุกเฉิน แต่หากเอกสารหาย ก็สามารถใช้วิธีการเบื้องต้นได้ดังนี้ครับ 1.หากเป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ซื้อมาติดตั้งใหม่ ตั้งรอบในการดูแลรักษาระยะตาม วสท. 2004-51 ได้ทำการกำหนดไว้ดังนี้ การตรวจสอบราย 3 เดือน สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 30 นาที ระหว่างช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้อง

การเลือกใช้ และ ตำแหน่งในการติดตั้ง อุปกรณ์ป้องกัน อันตราย

ในการทำงานความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพของงานและผู้ปฏิบัติงานสำหรับวิศวกร หรือผู้ที่มีส่วนในการออกแบบ และติดตั้งอุปกรณ์  ควรมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีในอุปกรณ์ป้องกัน  และตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยในบทความนี้ ข้อเสนออุปกรณ์ ป้องกัน ที่พบเห็นบ่อยครั้ง ในเครื่อง จักร และ แขนกลการผลิต  ครับ 1) Low-resolution 2-Beam safety grid ลักษณะการทำงาน เป็นม่านแสงความปลอดภัยในการตรวจจับ ผู้ปฏิบัติงาน ทั่วไปจะเป็น ลำแสง 2 เส้น ระยะห่างของลำแสงพอสมควร ประมาณ 5 M และสามารถ ยิงแสง ไกลถึง 70 M ราคาถูกเหมาะใช้ตรวจจับคนในพื้นที่กว้าง ติดตั้งสูงระดับเข่าถึงเอว

ระบบแสงสว่าง

ที่มา: เอกสารเผยแพร่ ภาคอุตสาหกรรม หมวดที่ 15 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบบแสงสว่าง (Lighting) 1. หลักการของเทคโนโลยี ความสว่าง (Illuminance: E) หมายถึง ปริมาณแสง ที่ตกกระทบบนพื้นผิว ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปอาจเรียกว่าระดับความสว่าง (Lighting Level) จึงเป็นค่าที่บ่งบอกว่าพื้นที่นั้นๆ ได้รับแสงสว่างเพียงพอหรือไม่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร (lm/m2) หรือลักซ์ (Lux) นั่นเอง ส่วนหน่วยเดิมวัดเป็น ลูเมนต่อตารางฟุต หรือ ฟุตแคนเดิล (Foot-candle) โดย 1 ฟุตแคนเดิล เท่ากับ 10.764 ลักซ์สีของแสงในแต่ละช่วงเวลาของวัน เราสังเกตได้ว่าแสงแดดมีสีต่างกัน เช่นช่วงเช้าจะออกเหลือง ช่วงเที่ยงจะขาว และช่วงเย็นจะออกสีส้ม หรือสีของแสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะอมเขียวหน่อยๆ สีของแสงไฟจากหลอดไส้จะออกสีส้ม นี่คือสีที่เราสังเกตได้ด้วยตาเปล่า  

อินเวอร์เตอร์ มิตซูบิชิ (Inverters Mitsubishi)

ใน บทความนี้ เรากลุ่มบริษัทฟอนฯ ใคร่ขอนำเสนออุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม อุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมชนิดนั้นคือ อินเวอร์เตอร์ (Inverters) กลุ่มบริษัทฟอนฯ ได้จัดจำหน่าย อินเวอร์เตอร์ (Inverters) ในหลากหลายแบรนด์ หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่นรวมถึง อินเวอร์เตอร์ มิตซูบิชิ (Inverters Mitsubishi) หรือ มิตซูบิชิ อินเวอร์เตอร์ (Mitsubishi inverter) อินเวอร์เตอร์ มิตซูบิชิ (Inverters Mitsubishi) เป็นที่รู้จักและใช้งานกันมาอย่างยาวนาน ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้วยการใช้งานที่ง่าย ราคาประหยัด และทรงประสิทธิภาพ ของ Mitsubishi inverter และรูปร่างขนาดเล็ก ทำให้ Mitsubishi inverter เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และ ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรมของเมืองไทย จึงทำให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของวิศวกรเมืองไทย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก อินเวอร์เตอร์ (Inverters) กันก่อน Inverter คือ อะไร อินเวอร์เตอร์ (Inverters) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง หรือควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้า และความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับได้ อินเวอร์เตอร์ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น ระบบอินเวอร์เตอร์ก็มีหลายระบบ หลากหลายรูปแบบ หลายเอาต์พุต และสามารถนำใช้ประโยชน์ต่างๆได้มากมาย อาทิเช่น 1. อินเวอร์เตอร์ระบบปรับเปลี่ยนดิวตี้ไซเคิล (ใช้มากในเครื่องเชื่อมและUPS) เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับสำรอง เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดขัดข้องขึ้น ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันดี คือ ตัว UPS หรือชื่อเต็มคือ […]

เรามารู้จักกับหลอด LED กันสักนิด

เรามารู้จักกับหลอด LED กันสักนิด “LED ย่อมาจากคำว่า Light Emitting Diode” เป็นอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างที่อยู่ในจำพวกสารกึ่งตัวนำ โดยมันสามารถเปล่งแสงออกมาได้จากตัวหลอดเมื่อเราจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าที่ตัวมัน หลอด LED สามารถเปล่งแสงได้หลายสี โดยที่ความหลากหลายของสีได้มาจากหลายๆ ความยาวคลื่น เช่น สามารถให้แสงสีแดง ,แสงสีน้ำเงิน ,แสงสีเขียว  ,แสงสีขาว ฯลฯ และ เมื่อเทคโนโลยีในการผลิต หลอด LED ก้าวหน้าไปมาก จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ขึ้นมาจากการผสมสี 3 สีหลักของหลอด LED นั่นเอง ความยาวคลื่นของ LED สีต่างๆ   หลอดLEDที่เราเห็นมีขายกันตามร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบนั้นจะมีหลักการทำงานเหมือนกัน แบ่งหลอด LED ตามรูปลักษณ์ดังนี้ LED แบบหลอดกลมแบบหลอดใส หรือที่เรามักจะเรียกว่า LEDแบบซุปเปอร์ไบท์ โดยที่ตัวหลอดเองจะเป็นแบบใสเราจะไม่มีทางรู้เลยว่า จะเป็นสีอะไรจนกว่าจะลองป้อนไฟเข้าไป ขนาดของ LED แบบนี้จะมีเหมือนกับ หลอดสีต่างๆ และมีสีให้เลือกเช่นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม สีขาว เป็นต้น แบบหลอดกลมใส   LED แบบหลอดเหลี่ยมโดนส่วนแสดงผลจะเป็นแบบเหลี่ยมดังรูป LED แบบตัวถังเป็นรูปสี่เหลี่ยม จะมี 4 ขา และมีสีให้เลือกใช้มากมายเช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีส้ม สีขาว เป็นต้น […]


Post navigation