การใช้ท่อร้อยสายไฟในการติดตั้งระบบไฟฟ้า การใช้ท่อร้อยสายไฟ เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ช่วย รักษาอายุการใช้งานของสายไฟ ในบ้างโรงงานบ้างพื้นที่ ที่มีสภาพแวดล้อม เช่น ความร้อน ความชื้น ความเป็นกรด และการกัดกร่อนจากสารเคมี อาจทำให้ สายไฟเสื่อมสภาพ ก่อนเวลาสมควร ร่วมทั้งเพิ่มความปลอดภัยจากประกายไฟ หากเกิดการอาร์กขึ้น ทั้งยังใช้เป็นตัวนำในการต่อลงดิน โดยมีหลักพิจารณาและหลักปฏิบัติ ดังนี้ 1) การเดินสายไฟในท่อโลหะ หนา ปานกลาง บาง สามารถฝังดินได้ โดยท่อ โลหะหนา และปานกลาง มีเกลียวที่ปายเหมือนกันสามารถใช้แทนกันได้ 2) เดินสายไฟในท่อโลหะอ่อน หรือ ท่อ (Flexible Metal Conduit ) ใช้เดินสายไฟ ในที่มีการสั่นสะเทือน ไม่สามารถฟังดินได้ 3) ท่อที่ใช้เดินในบริเวณที่มีของเหลว ใช้ท่อ MFLEX มีลักษณะคล้ายท่อโลหะมีเชือกคั่นระหว่างร่องมีพีวีซีห่ออีกชั้น 4) ท่ออโลหะ ท่อ พีวีซี ,พีอี ไม่ทนแสงแดดเป็นเวลานาน ไม่เหมาะดินในที่โล่ง เหมาะเดินซ่อนในผนัง พื้น เพดาน การดัดท่อ การดัดท่อหากเดินท่อในบริเวณที่มีความโค้ง ม่น เพื่อความสวยงามโดยใช้เครื่องมือดัดท่อ เบนเดอร์ (Bender) โดยเครื่องมือในการดัดท่อแต่ละประเภทมีดังนี้ ท่อโลหะบาง (ท่อ EMT) ใช้ EMT BENDER
เพื่อความปลอดภัย ในการใช้ไฟฟ้า เราควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยเราสามารถ ใช้หลักการทาง ซ่อมบำรุง มาเป็นหลัก ปฏิบัติ โดยกำหนดหัวข้อ รอบ บันทึกผล วิเคราะห์ผล แล้วนำมาจัดแผนซ่อมบำรุง เป็นประวัติในการซ่อมบำรุง โดยมีการตรวจสอบสามารถแบ่งออกได้ เป็นการตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้า 1) การตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัส เราสามารถตรวจสภาพการทำงาน โดยการดูสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า กลิ่น หรือแม้กระทั่งการสัมผัส เช่น สภาพของขั้วไฟฟ้าที่อยู่ในวงจร สภาพของคันโยกเบรกเกอร์ โดยวิธีการนี้ อาจมีการกำหนดมาตรฐาน ขึ้นมา เช่น กำหนด เป็นภาพของเบรกเกอร์ ในสภาวะการทำงานปกติ เพื่อใช้เปรียบ เทียบ ในการตรวจสอบ เป็นต้น 2) ตรวจสอบด้วยเครื่องมือทดสอบ การตรวจสอบมักมีมาตรฐานเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าอุปกรณ์นั้น สามารถ ใช้งานต่อได้หรือไม่ ในการตรวจสอบมักนิยมใช้ มัลติมิเตอร์ ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยวัดความต้านทานของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า บาลาสตร์ หรือในแผงวงจร ไฟฟ้าเป็นต้น มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
เรื่องหน้ารู้ของ ตัวควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) Temperature Controller ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่สามารถตั้งอุณหภูมิที่ต้องการได้ โดยในการเลือกใช้ โดยมีหลักให้พิจารณาดังนี้ ► ขนาด หรือ Size ของ Temperature Controller Size :98X98 มม. Size :48×48 มม. Size :48×96 มม. นอกจากนี้ยังมีให้เลือกใช้หลากหลายขนาดให้เหมาะกับช่องติดตั้ง
มาตรฐานในการติดตั้งทางไฟฟ้านับเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่มีความสำคัญ เป็นอย่างมาก เนื่องจากมาตรฐานการติดตั้งที่มีหลายมมาตรฐานในการอ้างอิงทั้งในส่วนทาง ยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้นการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้เป็นสากลจึงเกิดขึ้น มาตรฐานที่นิยมใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันเองก็มีหลาย มาตรฐานในการอ้างอิง ยกตัวอย่างเช่น ● กฎและระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรม ● มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ● มาตรฐานการพลังงานแห่งชาติ ● American National Standards Institute ทาง กลุ่มบริษัท ฟอน ขอหยิบยกบ้างหัวข้อในมาตรฐานที่มีความหน้าสนใจมาพิจารณา มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์) มาตรฐานที่มีความน่าสนใจมีดังนี้ 1) มาตรฐานการติดตั้ง EIT STANDARD 2001-51(บทที่ 5 การเดินสายและวัสดุ) หัวข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ข้อที่ 5.1.11 การกำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวน ระบบแรงตำ ●ตัวนำนิวทรัล ใช้ สีฟ้า ●สายเส้นที่มีไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากตัวนำนิวทรัล และตัวนำสำหรับต่อลงดิน สีของสายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า 3 เฟสให้ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็น สีน้ำตาล ดำ และ เทา สำหรับเฟส 1,2 และ 3 ตามลำดับ ●สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย ***ยกเว้น สายไฟฟ้าแกนเดี่ยวขนาดตั้งแต่ 16 Sqmm. ขึ้นไปทำเครื่องหมายแทนได้ ข้อที่ 5.17 แผงสวิทช์และแผงย่อย ●มีการกำหนดสีของบัสบาร์เพิ่มเติม ดังนี้ เฟส A […]
ชื่อสายไฟฟ้าในแต่ละชนิด สายไฟฟ้าที่ใช้ตามท้องตลอดในบ้างชนิดชื้อที่ใช้เรียกกันจนติดปาก นั้นบ้างชนิด ก็ยังไม่ได้จัดให้อยู่ในมาตรฐานดังนั้นเพื่อให้มีความสะดวก สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดี่ยวกัน ในมาตรฐาน มอก.11 เล่มที่ 1 ถึง 5 จะใช้รหัส ตัวเลข 2 ตามหลังมาตรฐาน IEC เช่น 60227 IEC 01 0 หมายถึง สายไฟฟ้าไม่มีเปลือกสำหรับงานติดตั้งถาวร ► 01 แบบตัวนำสายแข็ง ขนาด 1.5 -400 mm2 แรงดันใช้งาน 450/750 V. ► 02 แบบตัวนำสายอ่อน ขนาด 1.5-240 mm2 แรงดันใช้งาน 450/750 V. ► 05 แบบตัวนำเส้นเดี่ยว ขนาด 0.5,0.75, และ 1.0 mm2 แรงดันใช้งาน 300/500 V. ► 06 แบบตัวนำสายอ่อน ขนาด 0.5,0.75, และ 1.0 mm2 แรงดันใช้งาน 300/500 V. ► 07 แบบตัวนำเส้นเดี่ยว ขนาด 0.5,0.75,1.0,1.5 และ 2.5 mm2 แรงดันใช้งาน 300/500 V. […]