การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในอาคารเบื้องต้น

เพื่อความปลอดภัย ในการใช้ไฟฟ้า เราควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยเราสามารถ ใช้หลักการทาง ซ่อมบำรุง มาเป็นหลัก ปฏิบัติ โดยกำหนดหัวข้อ รอบ บันทึกผล  วิเคราะห์ผล แล้วนำมาจัดแผนซ่อมบำรุง เป็นประวัติในการซ่อมบำรุง โดยมีการตรวจสอบสามารถแบ่งออกได้ เป็นการตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้า

1)    การตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัส เราสามารถตรวจสภาพการทำงาน โดยการดูสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า กลิ่น  หรือแม้กระทั่งการสัมผัส เช่น สภาพของขั้วไฟฟ้าที่อยู่ในวงจร สภาพของคันโยกเบรกเกอร์ โดยวิธีการนี้ อาจมีการกำหนดมาตรฐาน ขึ้นมา เช่น กำหนด เป็นภาพของเบรกเกอร์ ในสภาวะการทำงานปกติ เพื่อใช้เปรียบ เทียบ ในการตรวจสอบ เป็นต้น

2)    ตรวจสอบด้วยเครื่องมือทดสอบ การตรวจสอบมักมีมาตรฐานเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าอุปกรณ์นั้น สามารถ ใช้งานต่อได้หรือไม่ ในการตรวจสอบมักนิยมใช้ มัลติมิเตอร์ ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยวัดความต้านทานของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า บาลาสตร์  หรือในแผงวงจร ไฟฟ้าเป็นต้น

electric-check01
มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก                               มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

นอกจากมัลติมิเตอร์ แล้วยังมีอุปกรณ์ตรวจอื่นที่สามารถ ใช้ตรวจสอบสภาพในการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ Test Lamp หรือไขควงเช็คไฟ เป็นการเช็ควงจรในอุปปกรณ์ไฟฟ้า โดย Test Lamp จะมีให้เลือกใช้หลายพิกัด 80-380VAC , 100-500VAC, 50-500VACขึ้นอยู่กับว่าจะไปเช็คไฟ  เช่น ถ้าเช็คไฟบ้าน  1 เฟสใช้ 80 -380 VAC หากใช้เช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ในโรงงานใหญ่ อาจต้องใช้ 100-500 VAC ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ตรวจสอบด้วย

วิธีการใช้ Test Lamp หรือไขควงวัดไฟ
1)    ใช้มือข้างที่ถนัด จับที่ด้ามไขควง
2)    ใช้นิ้วที่ถนัดกดที่ด้ามไขควง
3)    นำปลายด้านไขควงที่เป็นโลหะจี้ที่จุดที่คิดว่ามีกระแสไหลผ่าน
4)    หากมีกระแสไหลผ่านด้ามจะสว่าง หากไม่มีกระแสไหลผ่านไฟที่ด้ามไม่ติด

electric-check02
ไขควงเช็คไฟ

การตรวจเช็คสภาพของสายไฟ
สายไฟ นับเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ มีความสำคัญในระบบไฟฟ้า การเลือกสายไฟให้เหมาะสมกับงานตลอดถึงการติดตั้งย่อมมีผล ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า และความปลอดภัยของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า บทความนี้ทางฟอนมีหลักเบื้องต้น  ในการพิจารณาการตรวจสอบสภาพของสายไฟที่ท่านใช้งานอยู่มาให้พิจารณาดังนี้

 

electric-check03

ความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า

1) เหตุที่ทำให้สายไฟ เสื่อมสภาพอาจมีหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.1 อุณหภูมิ ทั้งสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน และที่เกิดจากการใช้งานในสายไฟฟ้าเอง  หากเดินสายไฟผ่าน จุดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ควรเลือกใช้สายให้เหมาะสม

electric-check04
ภาพสายไฟทนความร้อน

1.2 ฉนวนที่ห่อหุ้มบริเวณรอยต่อไม่ดี เลือกใช้ฉนวนที่เหมาะสม ได้มาตรฐานเช่นบริเวณที่มีความร้อน อาจใช้ เทปพันสายไฟ ที่สามารถทนความร้อนสูง
electric-check05
ภาพเทปพันสายไฟทนความร้อน

1.3 กระแสไหลผ่านมากเกินไป
ก. สายขนาดเล็กเกินไป
ข. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ขนาดสายเท่าเดิม
ค. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบไฟฟ้าของเจ้าของอาคารสถานที่
1.4 สายไฟฟ้าถูกกดทับ ความเสียหายของฉนวน ที่เกิดจากการกดทับย่อมทำให้ลดอายุการใช้งานของสายไฟลดลง
1.5 การสั่นสะเทือน
1.6 รอยต่อหลวม
1.7 ขาดการตรวจสอบและดูแลรักษา

2) การตรวจสอบความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า

2.1 เมื่อเป็นวงจรควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟฟ้า ให้ใช้เมกเกอร์ทดสอบ

electric-check06
รูปที่ การทดสอบฉนวนเมื่อเดิน  สายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย

2.1.1 ค่าความต้านทานเท่ากับศูนย์หรือน้อยกว่า 0.5 เมกะโอร์ม ฉนวนเสื่อมคุณภาพ
2.1.2ค่าความต้านทานมากกว่า 0.5 เมกะโอห์ม ฉนวนยังไม่เสื่อมคุณภาพใส่หลอดเข้ากับจุด 1,2จากนั้นตรวจสอบฉนวนระหว่างสายไฟฟ้ากับดิน ถ้าค่าความต้านทาน ≥0.5 เมกโอห์ม ฉนวนเสื่อมคุณภาพ ควรทำการเปลี่ยนสายไฟ

2.2 วิธีการทดสอบฉนวนของสายไฟฟ้าเมื่อเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
electric-check07

ทดสอบฉนวนสายไฟ เมื่อเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย

2.2.1 ใช้เมกเกอร์หรือ insulation  tester meter ใน multi meter มีฟังก์ชันนี้อยู่  ทดสอบที่ขั้วใดๆ
2.2.2 ทดสอบระหว่างสายไฟฟ้ากับดิน

electric-check08

Insulate Testing Meter

3. การบำรุงรักษาฉนวนของสายไฟฟ้า
– หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาด
– ตรวจสอบกระแส
– ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันวงจร ขนาดที่เหมาะสม
– อย่าให้สายไฟฟ้าถูกแสงแดด
– ระวังอย่าให้สายไฟฟ้าถูกกดทับด้วยสิ่ง

การตรวจสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์

จุดที่ควรทำการตรวจเช็ค ใน เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ คันโยกจึงเป็นจุดตรวจสอบอันดับแรก ๆ ทางกลของ เซอร์กิตเบรกเกอร์ นอกจากนี้ยังมี การตรวจสอบหน้า Contact และความเป็นฉนวนระหว่างขั้ว สามารถแบ่ง ได้ดังนี้

electric-check09

1)    การตรวจสอบเชิงกล
1.1)    จับคันโยกดันไปตำแหน่ง NO หาก ไม่ล็อคแสดงว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ชำรุด
1.2)    ตรวจสอบ ปุ่ม Reset โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งกดโดยที่สภาวะปกติ เมื่อทำการกดปุ่ม Reset แล้วจะทำคันโยกเด้งกลับหาก ไม่เด้งแสดงว่ามีหารชำรุด

2)    การตรวจสอบหน้าสัมผัส และความเป็นฉนวน

2.1) ใช้มัลติมิเตอร์ วัดค่าความต้านทาน โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
2.1.1) จับคันโยกดันไปตำแหน่ง ON โดยใช้ ย่านในการวัด Rx1 หรือ RX10 ตรวจสอบที่ขั้ว 1-2 3-4 5-6 ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์ ปกติ เข็มที่ใช้วัดค่าความต้านทานจะกระดิก หากเข็มไม่กระดิก แสดงว่าหน้าสัมผัสไม่สนิท
electric-check10

การใช้ มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทานตรวจสอบหน้าสัมผัส

2.1.2 ) ทดสอบความเป็นฉนวน  ดันคันโยกไปที่ตำแหน่ง ON แล้วใช้มัลติมิเตอร์ วัดตำแน่ง 1-3 ,3-5,2-4,4-6 โดยมีหลัการสังเกตความปกติเช่นเดียวกันกับการตวรจสอบหน้าสัมผัส

electric-check11

การใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบความเป็นฉนวน

อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/193753
http://mos.e-tech.ac.th
http://www.racingsociety.net/board
http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml
http://electronics.howstuffworks.com/circuit-breaker2.htm
http://e-learning.e-tech.ac.th