ตู้ควบคุมที่ใช้ในระบบไฟฟ้า

MDB. (Main distribution board)

ตู้ MDB เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร มีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก “ หลักการทำงานของตู้สวิทซ์บอร์ด คือ การรับไฟที่ส่งมาจากการไฟฟ้า หรือ ต้านแรงดันต่ำของหม้อแปลงไฟฟ้า แล้วจึงจ่ายโหลดไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร  “ และเนื่องจากโดยส่วนมากขนาดของตู้ MDB จะมีขนาดใหญ่จึงนิยมวางบนพื้น

ส่วนประกอบภายใน ของตู้สวิทซ์บอร์ด

ส่วนประกอบตู้สวิชท์

ภาพแสดงส่วนประกอบในตู้สวิทช์ บอร์ด

1 โครงตู้ (Enclosure)
2 บัสบาร์ (Busbar)
3 เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

4 เครื่องวัดไฟฟ้า
5 อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)

โครงตู้สวิทซ์บอร์ด ทำจากโลหะแผ่นนำมาประกอบเป็นโครงตู้ มีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้

 

คุณสมบัติทางกล สามารถรับแรงกลจากภายนอกได้ ทั้งภาวะปกติและไม่ปกติ

คุณสมบัติทางความร้อน สามารถทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติในระบบ และการอาร์ค(หรือการสปาร์ค)ซึ่งเป็นผลจากการลัดวงจร

คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน สามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้

โครงตู้ของสวิทช์บอร์ดยังช่วย

 

ป้องกันไม่ให้มนุษย์ที่อยู่ใกล้สวิทซ์บอร์ด สัมผัสถูกส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า

ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ แผงวงจรไฟฟ้า ในตู้จา ภายนอกเช่น น้ำ, ฝุ่น,

ป้องกันอันตรายหากเกิด การอาร์ก รุนแรงทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็น

 

ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ ตู้สวิทซ์บอร์ด

1)  สถานที่ในการติดตั้ง ว่าอยู่กลางแจ้งหรือในร่ม เพราะหากติดในที่กลางแจ้งย่อมต้องเลือกตู้ที่สามารถกันฝน หรือ น้ำได้ด้วยโดยสังเกตค่า IP

2)  ในการเลือก ขนาด ตู้ควรพิจารณาจาก แผงวงจร และขนาดของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่นำมาติดตั้งว่ามีขนาดอย่างไร

3)  หาก ในการติดตั้งมีเงื่อนไขเพิ่มเติมให้พิจารณาจากคุณสมบัติทาง กลม ความร้อน และการกัดกร่อน โดยอาจศึกษาจาก ข้อมูล ผลิตภัณฑ์

ครั้งหน้าเราจะมาลองดูว่าตู้ที่ใช้ในงาน ไฟฟ้า ในแบบอื่น ๆ เป็นอย่างไรบ้างโปรดติดตามครับ

 

SDB (Sub Distribution Board) หรือ แผงควบคุมไฟฟ้ารอง  DB (Distribution Board)

แผง หรือ ตู้ควบคุมไฟฟ้ารอง ลักษณะร่วมทั้งส่วนประกอบมีลักษณะคล้ายกับ ตู้สวิทช์บอร์ด แต่มีขนาดและพิกัดของตู้ และ อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ลดหลั่นจาก ตู้MDB การทำงาน เช่น ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ ลงไปอีก ชั้น ของตึก ในอาคารสูง หรือ อาคารที่อยู่ติดกันแต่มีขนาดเล็กกว่า

SDB
จากภาพเมื่อเทียบกับ ตู้ MDB แล้วมีโครงสร้างเล็กกว่า

LP (Load Panel) หรือ แผงควบคุมไฟฟ้าย่อย

สวิทช์ใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อย  ในห้องที่ต้องการควบคุม Load Panel หรือ ในส่วนที่ต้องการควบคุม จะมี เซอร์กิตเบรกเกอร์ หลายตัว วางเรียงกันอยู่ในกล่อง ส่งผลให้ มีขนาดเล็ก  ในบ้างอาคาร อาจใช้ Load Panel ควบคุม แทน SDB

Load Panel  แบ่งได้ดังนี้

1) Load Panel 3 Phase เรียกว่า Load Center , LP

2) Load Panel 1 Phase เรียกว่า Consumer Unit , CU

Load Panel

 

–  SDB. (Sub distribution board ) เป็นตู้ควบคุมย่อย จ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. หรือ Load Center หลายๆ ตู้ ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร

–  PB ( Panel board ) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด
ขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load

 

อ้างอิง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://homepage.eng.psu.ac.th/adm/akarn/electric-basic.htm

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
https://sites.google.com/site/arc3465202231/assignment-07

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
http://montri.rmutl.ac.th/old/ee/04212209/L-06-3.pdf