หลอดไฟเล็กที่ใช้ในสายการผลิต

หลอดไฟที่ใช้ในงานเครื่องจักรโดยส่วนมาก  มักจะมีขนาดเล็กในการกรณีหากมีการทำความเข้าใจชนิดของหลอดไฟ และมีการเก็บ Stock เป็นอะไหล่สำรอง ย่อมไม่มีปัญหา แต่ถ้าหาก เป็นอุปกรณ์สำคัญที่บ่งบอกสถานะการทำงานของเครื่องจักร หรือ ความปลอดภัยในการทำงาน หากเกิดปัญหา เช่น ไส้หลอดขาดหรือเสียหาย ยอมส่งผลกระทบต่อผู้ที่ปฏิบัติงานดังนั้นแม้หลอดไฟที่เราเห็นมองข้ามเป็นสิ่งเล็ก ๆ หากเรามองข้ามอาจส่งผลให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา

ในบทความนี้ทางผู้จัดทำยินดีนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาเปรียบเทียบและ เลือกใช้หลอดไฟ ที่ใช้ในงานเครื่องจักรมาพิจารณาครับ

1) พิจารณา ตามชนิดลักษณะของหลอด
โดยทั่วไปหลอดไฟที่ใช้ในเครื่องจักรเช่น Tower light ,warning Light , หลอดไฟที่ ใช้ใน Pilot lamp หรือ Push button ที่ใช้ในตู้ Control หรือ Control Box ต่าง ๆ พิจารณาได้เป็น

1.1) หลอด ที่เป็น LED
LEDไดโอดเปล่งแสงย่อมาจากคำว่า (light-emitting diode) ซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสงธรรมดาที่ตาคนมองเห็นโดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่วๆ ไป

lighting01

ลักษณะ LED ใน Tower light

lighting02

ลักษณะ LED ใน Pilot Lamp

1.2 หลอด ที่เป็น NEON
เป็น หลอดแก้วทรงกระบอก หรือแบบกลม ด้านในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ก๊าชที่บรรจุอยู่ภายในหลอดจะแตกตัวเป็น ไอออนเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปกระทบก๊าช จะเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่ทำให้หลอดสว่างขึ้น

lighting03

หลอด Neon แบบเขี้ยว

lighting04

หลอด Neon พลาสติก

1.3 หลอดไส้
บาง ทีเรียกว่าหลอดดวงเทียน มีทั้งชนิดแก้วใส และแก้วฝ้า ไส้หลอดทำจากทังสเตน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อนขึ้น ยิ่งความร้อนมากขึ้นเท่าใดแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากไส้หลอดก็จะมากขึ้นเท่า นั้น และให้แสงสีเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้น ทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอย่างมาก

lighting05

หลอดไส้แบบเขี้ยว

พิจารณาตามขั้วหลอด
โดยทั่วไปลักษณะของ หลอดไฟที่ใช้ในเครื่องจักร ส่วนมากขั้วเป็น 2 แบบ
2.1) หลอดไฟที่มีลักษณะขั้ว แบบเกลียว โดย เริ่มที่
E10, E12,E14,E17 โดย รหัส E คือความโต ของขั้วหลอดวัดขอบจนถึงขอบอีกฝั่งของหลอด

lighting06

ลักษณะขั้วหลอดแบบเกลียว

2.2) หลอดไฟที่มีลักษณะขั้ว แบบขั้ว โดย เริ่มที่
BA9S, BA15S, และ BA15D โดย รหัส BA คือความโต ของขั้วหลอดวัดขอบจนถึงขอบอีกฝั่งของหลอด

lighting07

ลักษณะขั้วหลอดแบบขั้วเขี้ยว

2.2.1 BA15S คือขั้วเขี้ยว แบบ ขั้วเดียว

lighting08

เขี้ยว แบบ ขั้วเดียว

2.2.2 BA15D คือขั้วเขี้ยว แบบ ขั้วคู่

lighting09

เขี้ยว แบบ ขั้วคู่

2) พิจารณา รูปร่างของตัวหลอด
เนื่องจาก มีขนาดและลักษณะ ให้เลือกใช้ หลากหลายการพิจารณาขนาดจึงสำคัญ

lighting10

ในบางรุ่นบาง ยี่ห้อ Code อาจมีความแตกต่าง พิจารณาจาก Code ตัวอย่าง T16 x 54 mm
พิจารณา 16 คือ ความกว้างที่สุดของหลอดไฟ  16 คือ หลอดไฟมีความกว้าง 16 mm

lighting11

พิจารณาความกว้างของหลอดไฟ

พิจารณา 54 คือ ความยาวจากขั้วหลอด ถึง ส่วนบนสุดของหลอด 54  คือ หลอดไฟมีความยาว 54 mm

lighting12

พิจารณาความยาวของหลอดไฟ

***ในกรณีที่มีลักษณะขั้วแบบพิเศษเพิ่มเติมขั้นมาสามารถปรึกษาได้ตามตัวแทนจำหน่าย

3) พิจารณา Rate กระแส ไฟ

โดยทั่วไป Spec Rate จะมีทั้ง Voltage Rating และ Watt RatingVoltage Rating ควร ใช้ Rate เท่ากันเช่น ถ้าหลอดเดิม 12 /24 โวลต์ หลอดใหม่ควรใช้ 12/24 โวลต์ เท่ากัน Watt Rating ควรใช้ Rate เท่ากัน ควรเลือกใช้หลอดที่มี Rate กระแสไฟ ในช่วงเดียวกัน เช่น เดิม 1 Watt  ก็ควร ใช้ 1 watt ต่อไป แต่หากจำเป็น หรือ หลอดไม่มีให้เลือกใช้กระแสในช่วงนั้น สามารถ เทียบ วัตต์ที่มีความใกล้เคียงโดยเลือกใช้ วัตต์ที่สูงกว่าเล็กน้อยได้

ทั้งนี้ต้องสามารถใช้แทนกันได แบบชั่วคราวโดย ข้อเสียคือ ในการเพิ่ม กำลัง Watt จะทำให้ขั้วหลอดร้อนขึ้น อาจทำให้เนื้อวัสดุเสื่อมสภาพ ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น เช่น ความปลอดภัย ความสะดวก และราคา เพิ่มเติม

อ้างอิง

http://www.ledmaxwell.com/index.php?option=com_content&view=article&id=90&Itemid=158&lang=
http://www.bareo-isyss.com/61/61_light.html
http://hq-auto-lighting.co.uk/images/BA15S.