การเลือกใช้ และ ตำแหน่งในการติดตั้ง อุปกรณ์ป้องกัน อันตราย

ในการทำงานความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพของงานและผู้ปฏิบัติงานสำหรับวิศวกร หรือผู้ที่มีส่วนในการออกแบบ และติดตั้งอุปกรณ์  ควรมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีในอุปกรณ์ป้องกัน  และตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยในบทความนี้ ข้อเสนออุปกรณ์ ป้องกัน ที่พบเห็นบ่อยครั้ง ในเครื่อง จักร และ แขนกลการผลิต  ครับ

1) Low-resolution 2-Beam safety grid

ลักษณะการทำงาน เป็นม่านแสงความปลอดภัยในการตรวจจับ ผู้ปฏิบัติงาน ทั่วไปจะเป็น ลำแสง 2 เส้น ระยะห่างของลำแสงพอสมควร ประมาณ 5 M และสามารถ ยิงแสง ไกลถึง 70 M ราคาถูกเหมาะใช้ตรวจจับคนในพื้นที่กว้าง ติดตั้งสูงระดับเข่าถึงเอว

safty_install01

2) Low-resolution 3 or4-beam safety grid

ลักษณะการทำงาน เป็นม่านแสงความปลอดภัย แต่ลำแสงตรวจจับ 3-4 เส้น ระยะห่างลำแสงประมาณ 30-40 cm. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง

safty_install02

3) Standard-resolution safety Light Screen

ลักษณะเป็นม่านแสงที่เอาไว้ตรวจจับมือผู้ปฏิบัติงาน ระยะห่างของลำแสงที่  30 mm. จำนวนของลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง ระยะแสงไกล 15 m

safty_install03

4) High-resolution safety light screen

เป็นม่านแสงเซฟตี้ที่เอาไว้ตรวจจับนิ้วมือ มีระยะห่างระหว่างลำแสงที่ 14 mm. จำนวนลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสงระยะยิงแสงไกล 8 M. เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด Category4 (type4)

safty_install04

5) Safety Mat or Laser Scan

เป็นม่านลำแสงเซฟตี้ที่สามารถกำหนดพื้นที่ได้ว่าจะป้องกันบริเวณไหนบ้างโดยกำหนดผ่าน Software

safty_install05

6) Two-hand Control

คือ สวิทช์สั่งเครื่องจักรทำงาน จำนวน 2 ตัว วิธีใช้คือให้ผู้ปฏิบัติงานเอามือซ้ายและขวามากด สวิทช์โดยมีเงื่อนไขพิเศษที่ต้องใช้เวลาในการกดพร้อมกันทั้งสองตัว และถ้าเอามือออกจากสวิทช์เครื่องจักรจะหยุดทำงาน

safty_install06

7) InterLock  hard  guard

เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ด่านสุดท้ายก่อนที่คนจะเข้าใกล้เครื่องจักร โดยเป็นสวิทช์ เซฟตี้ชนิดต่าง ๆ ติดไว้ที่ประตูทางเข้าบริเวณเครื่องจักรที่มีการล้อมรั้ว หรือ กั้นพื้นที่ เพื่อไม่ให้คนเข้าไปได้ วิธีการทำงานคือเมื่อประตูเปิด เครื่องจักรจะหยุดทำงาน สวิทช์มีหลายแบบ เช่น บานหมุนพับ แม่เหล็ก สลักเสียบ สวิทช์หมุน หรือ Fiber optic

safty_install06

8) Solenoid-locking guard

เป็นสวิทช์เซฟตี้ที่ติดไว้ ประตูทางเข้าบริเวณเครื่องจักร จะจ่ายไฟให้ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กมาดูดกลอนล็อคทำให้เครื่องจักรหยุดทำงานและเครื่องจักรจะกลับมาทำงานต่อ เมื่อพนักงานออกจากบริเวณแล้วกดปุ่มสตาร์ทเพื่อสั่งเครื่องจักรทำงานต่อ

safty_install08

9) Rope Pull

เป็นสวิทช์แบบดึง ประกอบด้วย สายเคเบิ้ลหุ้ม ด้วยพลาสติกเวลาดึงจะไม่บาดมือจะติดตั้งเป็นแนวนอนไปบริเวณที่สามารถดึงได้สะดวก ในเวลาฉุกเฉิน มีลักษณะที่น่าสนใจอยู่ 3 แบบ

1)        ดึงเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

2)        ทำงานปกติ

3)        สายเคเบิ้ลขาดเพื่อความปลอดภัย

ควรออกแบบให้มีการเลือกใช้อุปกรณ์เซฟตี้หลายอย่าร่วมกัน

1)        ล้อมรั้ว ใช้ประตูแบบล็อค ถ้าประตูเปิดแขนกลหยุดทำงาน

2)        พื้นที่ภายในใช้ Laser scan ถ้ามีคนอยู่ในพื้นที่ Robot จะหยุด

3)        บริเวณเตรียมของใช้ Safety light screen เพื่อกั้นไม่ให้คนเอามือเข้าไป

safty_install09

อ้างอิง

BANNER หน้า  723 General Catalog 2014-2015 COMPOMAX
http://www.designworldonline.com/worlds-most-compact-safety-laser-scanner/
http://www.bannerengineering.com/en-US/training/subtopic.php?topicID=P7_01_030&term=two-hand+control+device
http://www.idemsafety.com/products.asp?catid=2
http://www.lovegreen.com/shop/safety-devices/e-stop-rope-switch/rope-pull-switches-72-mm.html