มารู้จักกับ รีเลย์ (Relay) ของ OMRON กันเถอะ
วันนี้เราจะมาแนะนำ Relay ของ OMRON กันนะครับ โดยเริ่มจากลักษณะในการทำงานของ Relay ทั่ว ๆ ไป
Relay คือ อุปกรณ์ทำหน้าที่ ตัด-ต่อวงจร คล้ายกับสวิตซ์ โดยใช้หลักการหน้าสัมผัส
รีเลย์จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
1) ส่วนของขดลวด เหนี่ยวนำ (coil)
2) ส่วนของหน้าสัมผัส (Contact)
หาก แบ่ง Relay ตามลักษณะงาน แบ่งได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รีเลย์งานทั่วไป
รีเลย์ในกลุ่มนี้หน้าสัมผัสจะทำงานเมื่อขดลวดเหนี่ยวนำ ได้ถูกจ่ายกระแสให้ และหยุด เมื่อหยุดจ่ายหากต้องการให้ทำงานตลอดเวลา ก็จ่ายไฟ หรือ หากต้องการควบคุมเวลาในการทำงานก็ใช้อุปกรณ์ Timerในการควบคุม รุ่นของ Omron เช่น MY, LY, G2R, MK-I/-S
MY Series
กลุ่มที่ 2 พาวเวอร์รีเลย์
ลักษณะการใช้งาน ใช้กับ Load ที่ใช้กระแสมาก ๆ ตัวอย่างรุ่น เช่น G7L ,G4B และ G7J
G4B G7L G7J
กลุ่มที่ 3 แลทชิ่งรีเลย์
หน้าสัมผัสจะทำงานเมื่อขดลวดเหนี่ยวนำขา Set ถูกจ่ายไฟให้และจะยังทำงานแม้หยุดจ่ายกระแสให้ขดลวดเหนี่ยวนำแล้ว แต่รีเลย์จะหยุดทำงาน เมื่อทำการจ่ายกระแสไฟ ให้แก่ ขา Reset ของ Relay ตัวอย่างรุ่นของ Omron MYK และ G2AK
MYK G2AK
***หลีกเลี่ยงการใช้งานในสภาวะ ฝุ่น แหล่งจ่ายที่มีไฟกระชากเกิดขึ้นบ่อย ๆ
การติดตั้งหากติดตั้ง โดยเรียงกันมากควรเว้นช่อง ประมาณ15-20 CM.
ไม่จ่ายกระแสเข้าขา Set และ Reset พร้อมกัน
กลุ่มที่ 4 แรทเชทรีเลย์
ลักษณะ คล้ายแลทชิ่งรีเลย์ แต่รวมขา Set และ Reset มาไว้ขาเดียว เมื่อจ่ายไฟ Coil จะทำงานแม้ว่าเลิกจ่าย ก็ยังทำงานค้างอยู่ หาก เมื่อจ่ายไฟเข้า Coil อีกจึงหยุดทำงาน แต่จำทำงานค้างแม้ว่า เลิกจ่าย กระแสแล้ว หน้าสัมผัส จะสลับ เปิด และ ปิด วงจรนั้นเอง Relay ในรุ่น นี้ ของ Omron เช่น G4Q
กลุ่มที่ 5 สเตปปิ้งรีเลย์
หน้าสัมผัส จะมีมากกว่า 2 หน้า NO,NC หน้าสัมผัสจะเรียงสลับกันทำงาน ควบคุมลำดับในการทำงานโดยการเพิ่มพัลส์ ให้กับ coil
สเตปปิ้งรีเลย์ของ OMRON ได้แก่ G9B-06 และ G9B-12
บทความหน้าจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Relay ของ Omron ด้านใดโปรดติดตามใน บทความ “มารู้จัก รีเลย์ (Relay) OMRON กันเถอะ” 2
การยืดอายุการใช้งาน ของ รีเลย์ด้วยวงจรป้องกัน
การ เพื่อยืดอายุการใช้งานของ รีเลย์ให้ยาวนานขึ้นนั้นวงจรที่ใช้งานย่อมส่งผลกับการทำงานของ การต่อวงจรนั้นควรต่อวงป้องกันนั้นควรต่อให้หน้า คอนแทค เข้ากับรีเลย์ ป้องกันการสร้างกรด Carbide และ Nitric ที่เกิดขึ้นที่หน้า คอนแทคเปิด รวมทั้งเพื่อลด Noise ด้วย ในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูงยังส่งผลทำให้เกิด กรด Nitric ซึ่งทำให้ รีเลย์ทำงานไม่เติมประสิทธิภาพ หรือทำงานได้ไม่ปกติ การใช้ อุปกรณ์ ลด Surge ปัญหาดังกล่าว
ตัวอย่างวงจรที่นำอุปกรณ์ Surge มาใช้งาน
ตัวอย่างวงจร |
กระแสไฟ |
คุณลักษณะ |
การเลือกอุปกรณ์ |
||
AC |
DC |
||||
CR type
|
* (OK) |
OK |
อิมพีแดนซ์โหลดต้องน้อยกว่าวงจรRCเมื่อใช้ รีเลย์กับ แรงดัน AC |
ค่า C และ R ที่เหมาะคือ C=0.1-0.5 μFต่อกระแส Switching 1A และ R =0.5-1 Ωต่อแรงดัน Switching 1V โดยค่านี้ไม่คงที่ที่เหมาะสมเสมอไป ขึ้นอยู่กับโหลดและคุณสมบัติของ รีเลย์ |
|
|
OK |
OK |
เวลาในการตัดช้าลง ถ้าโหลด เป็น Inductive เช่น Solenoid Valve การต่อคร่อมโหลด เมื่อใช้แรงดันเป็น 24-48 V และต่อคร่อม หน้า คอนแทค ที่แรงดัน 100-240 V จะทำให้วงจรได้ผลดี
|
||
Diode Type |
NG |
OK |
พลังงานสะสมใน Coil ของ โหลด Inductive จะสร้างกระแสไหลผ่าน Diode ต่อคร่อมกับ coil ทำให้เวลาการตัดวงจรนานกว่าแบบ RC |
ควรเลือกใช้ Diode ที่ที Reverse Breakdown Voltage 10 เท่าของแรงดันใช้งาน |
ตัวอย่างวงจรที่นำอุปกรณ์ Surge มาใช้งาน (ต่อ)
ตัวอย่างวงจร |
กระแสไฟ |
คุณลักษณะ |
การเลือกอุปกรณ์ |
||
AC |
DC |
||||
Diode+Zener diode type
|
NG |
OK |
วงจรนี้ทำงานได้ดีกว่าวงจร แบบ Diode ในงานบางประเภทแต่เวลาการตัดวงจรนานมาก
|
Breakdown Voltage ของ Zener Diode ควรเท่ากับแรงดันไฟฟ้า |
|
Varistor type |
OK |
OK |
ป้องกันแรงดันสูงที่เกิดขึ้นที่หน้า คอนแทคเนื่องจาก Varistorช่วยรักษาความดันคงที่ จะใช้ได้ดีถ้าต่อคร่อมโหลดใช้แรงดันเป็น 24 -48V ต่อคร่อมหน้า หน้า คอนแทค ที่100-240V
|
Cut –off Voltage (Vc) ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ Contact Dielectric Strength>Vc >supply voltage (ถ้าเป็นกระแส ACให้คุณ 2 ของค่าที่ได้ |
อ้างอิง
หนังสือ Omron Price List 2012-2013 หน้า1-5
หนังสือ Omron Price List 2012-2013 หน้า1-2 ถึง 1-4
www.omron-ap.co.th/product_info