การใช้ท่อในงานไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตราย และความเสียหาย กับสายไฟฟ้าที่ใช้งาน และให้เหมาะสมกับการเดินสายในแต่ละพื้นที่ของงาน อุปกรณ์ท่อที่นิยมแบ่ง ได้ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ วัสดุ ผลิตท่อที่เป็น ท่อโลหะ และ วัสดุท่อที่เป็นอโลหะ ซึ่งดังจะทำการยกตัวอย่างดังนี้ 1) ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing) หรือ ท่อร้อยสาย EMT ผลิตจากแผ่นเหล็กกล้า ชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว ข้อสังเกต ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้าน ปลายแต่ละด้านไม่เป็นเกลียวมาตรฐานกำหนดให้ใช้ ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิด โดยทั่วไปจะ เรียกกันว่าท่อ EMT มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 2″ นิ้ว หรือถ้าใช้ บ้างช้างผู้ใช้งานจะเรียกหน่วยหุน ความยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป ลักษณะงานในการเดินท่อ ท่อ EMT ใช้ เดินลอยในอากาศ โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์งานท่ออื่น ๆ เช่นราง ซี , Clamp ประกับท่อ สามารถทำการฝังในผนังคอนกรีต เพื่อความสวยงามในงานก่อสร้าง การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 […]
กลุ่มท่ออโลหะในงานไฟฟ้า 1) ท่อพีวีซี (Poly Vinyl Chloride) 1.1) ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ แต่ข้อเสียคือขณะที่ถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนเราออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสงแดด ทำให้ท่อกรอบเมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน ที่ใช้ในงานไฟฟ้ามีสีเหลือง มีขนาดตั้งแต่ ½” – 4” นิ้ว และยาวท่อนละ 4 เมตร ดังรูป นอกจากท่อแล้วยังมี อุปกรณ์ เสริมที่ใช้ร่วมดังภาพเบื้องต้น
MDB. (Main distribution board) ตู้ MDB เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร มีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก “ หลักการทำงานของตู้สวิทซ์บอร์ด คือ การรับไฟที่ส่งมาจากการไฟฟ้า หรือ ต้านแรงดันต่ำของหม้อแปลงไฟฟ้า แล้วจึงจ่ายโหลดไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร “ และเนื่องจากโดยส่วนมากขนาดของตู้ MDB จะมีขนาดใหญ่จึงนิยมวางบนพื้น ส่วนประกอบภายใน ของตู้สวิทซ์บอร์ด ภาพแสดงส่วนประกอบในตู้สวิทช์ บอร์ด 1 โครงตู้ (Enclosure) 2 บัสบาร์ (Busbar) 3 เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) 4 เครื่องวัดไฟฟ้า 5 อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)
อุปกรณ์ไฟฟ้าอีกตัวที่มีความสำคัญในงานระบบไฟฟ้า ทางกลุ่มบริษัท FON ยินดีนำเสนอ ข้อมูลของBUSBAR ดังนี้ BUSBAR ทางไฟฟ้า ใช้อธิบาย “จุดรวมของวงจรจำนวนมาก” โดยจุดรวมของวงจรนั้น วงจรไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้าเข้าวงจรน้อย และ วงจรไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าออกจำนวนมาก เราจะเห็นเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ใน สถานีไฟฟ้า ตู้ MDB หรือ แผงสวิตช์โดยส่วนมาก เพราะจะต้องรับ และทำการจ่าย กระแสไฟฟ้าปริมาณมาก ทำให้เกิด แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Force) ในการเลือกใช้ BUSBAR ก็ต้องสามารถทนแรงเหล่านี้ได้ วัสดุที่นำมาใช้ผลิต ต้องมีคุณสมบัติ ทางไฟฟ้า และทางกลที่เหมาะสม โดยพิจารณาเบื้องต้นจาก คุณสมบัติดังนี้ โลหะที่จะนำมาใช้ป็นบัสบาร์ ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. มีความต้านทานต่ำ 2. ความแข็งแรงทางกลสูงในด้านแรงดึง แรงอัดและแรงฉีก 3. ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง 4. ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ 5. การตัดต่อหรือดัด ทำได้สะดวก 6. ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง จากตารางเบื้องต้น แสดงคุณสมบัติเพื่อพิจารณาในการเลือกวัสดุมาใช้ผลิต BUSBAR
Power Plug เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งในการเชื่อมต่อ อุปกรณ์ไฟฟ้า กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่กระแสไฟ และ แรงดันไฟฟ้าสูง มาตรฐานของ Power plugจะยึดตามมาตรฐาน IEC โดยมีลักษณะของ Power Plug 18 ชนิด ทั่วโลก ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ Power plug เบื้องต้น 1) พิจารณาว่ากระแสที่นำ Power plug ไป wire นั้นกระแสอยู่ที่ประมาณเท่าไร โดยเปรียบเทียบ กับ Spec ของ Power ปลั๊ก โดยส่วนมาก ค่ากระแสไฟฟ้า (amp) อยู่ที่ 16 , 32,63,125 amp ค่ากระแสพิกัดใน Power Plug